วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วงจรแยกเสียงลำโพง

วงจรแยกเสียงลำโพง

วงจรแยกเสียงลำโพงหรือครอสโอเวอร์ค ทำหน้าที่แยกเสียงลำโพงออกเป็นช่วงๆ ตามความถี่เสียงที่เหมาะสมต่อการทำงานของลำโพงแต่ละตัว ทำให้ลำโพงขับเสียงออกมามีความสมบูรณ์ ชัดเจน นุ่มนวล และความถี่ถูกต้อง โดยไม่เกิดเสียงหักล้างกันหรือเสียงเสริมกัน การกำหนดจุดตัดข้ามความถี่เสียงต้องคำนวณถึงการตอบวนองความถี่เสียงของลำโพง ควรพิจารณาที่ลำโพงเสียงทุ้มเป็นหลัก
วงจรแยกเสียงลำโพงเป็น 2 ทาง แยกเสียงส่งไปลำโพง 2 ช่วงความถี่ คือ ความถี่ต่ำเสียงทุ้ม และความถี่สูงเสียงแหลม แยกวงจรแยกเสียงลำโพงออกไดเป็นออร์เดอร์มี 4 ออร์เดอร์ ออร์เดอร์ที่นิยมใช้งานเป็นแบบออร์เดอร์ที่ 2 ความลาดเส้นกราฟที่จุดตัดข้าม 12 dB/ออกเตฟ ใช้ค่า L, C จัดวงจรอย่างละ 2 ตัว การเลือกค่า L, C มาใช้งานต้องเลือกค่าที่เหมาะสม เพื่อให้วงจรทำงานได้สมบูรณ์
วงจรแยกเสียงลำโพง 3 ทาง แยกเสียงส่งไปลำโพง 3 ช่วง ความถี่ คือความถี่ต่ำเสียงทุ้ม ความถี่กลางเสียงกลาง และความถี่สูงเสียงแหลม ความถี่ที่ใช้ในจุดตัดข้ามความถี่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำโพงเสียงทุ้มการต่อลำโพงเข้ากับวงจรเสียงลำโพง ต้องคำนึงถึงขั้วบวก-ลบ ทั้งของวงจรแยกเสียงและของลำโพง ต้องต่อให้ถูกต้องตรงกัน เพื่อให้การทำงานของลำโพงทุกตัวมีเฟสการทำงานเหมือนกัน
การต่อใช้งานลำโพงหลายตัวมีประโยชน์ในการใช้งานหลายประการ คือ ช่วยให้เกิดทิศทางการแพร่กระจายคลื่นเสียงครอบคลุมในบริเวณที่ต้องการ ช่วยเพิ่มความดังของเสียงที่ขับออกมาจากลำโพงแต่ละตัว สามารถเฉลี่ยภาวการณ์ทำงานให้ลำโพงทุกตัวได้ และช่วยปรับค่าอิมพีแดนซ์ลำโพงให้เหมาะสมกับเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงหลายตัวทำได้ 3 แบบ คือต่ออนุกรมช่วยเพิ่มอิมพีแดนซ์ลำโพงให้สูงขึ้น ต่อขนานช่วยลดอิมพีแดนซ์ลำโพงให้ต่ำลง และต่อผสมช่วยเพิ่มจำนวนการต่อลำโพงได้มากขึ้น
การต่อลำโพงระยะไกลต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญดังนี้ ลำโพงมีอิมพีแดนซ์ต่ำต่อสายได้สั้น ลำโพงมีอิมพีแดนซ์ยิ่งสูงขึ้น สามารถต่อสายได้ยากขึ้น ใช้สายเส้นเล็กความต้านทานของสายสูงต่อสายได้สั้น ใช้สายเส้นใหญ่ใช้ความต้านทานของสายต่ำลงต่อสายยาวมากขึ้น สิ่งที่ต้องเพิ่มในการต่อลำโพงระยะไกลคือไลน์แมตชิ่งทรานส์ฟอร์มเมอร์ แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดอิมพีแดนซ์คงที่ และชนิดแรงดันคงที่

วงจรป้องกันลำโพง หน่วงเวลา

                                                       วงจรป้องกันลำโพง หน่วงเวลา
SPECIFICATIONS
Speaker Protections..............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo  
ขนาดรีเลย์.............................ขนาด 20A จำนวน 2ตัวเพียงพอต่อแอมป์ขนาด1000+1000W
ใช้ไฟเลียงวงจร........................ AC หรือ DC 12Vถึง24V
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines  
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย
SPECIFICATIONS
Speaker Protections.............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo  
ขนาดรีเลย์..............................ใช้รีเลย์ขนาด 30A จำนวน 2ตัวเพียงพอต่อเพาเวอร์แอมป์กำลังวัตต์ขนาด1500+1500W
วงจรพิเศษ..............................ใช้คู่กับบอร์ด LED Display รุ่น LED V1.0 เชื่อมต่อโดยสายแพร์เพียง 5 เส้นแต่สามาร
                                                     แสดงการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ได้อย่างสมบูณร์แบบ Power-On, Signal, Protec, Clip
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ AC..............9V หรือ 18V
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ DC..............12V หรือ 24V
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines  
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย




SPECIFICATIONS
Speaker Protections..............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo 
ขนาดรีเลย์...............................ใช้รีเลย์ขนาด 20A จำนวน4ตัวขนานกันทำให้เพียงพอต่อเพาเวอร์แอมป์ขนาด2000+2000W
วงจรพิเศษ..............................ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo ระบบ Dual หรือ แยกกันทำงาน  ซ้าย-ขวา อิสระ
                                                    ใช้คู่กับบอร์ด LED Display รุ่น LED V2.0 เชื่อมต่อโดยสายแพร์เพียง 6 เส้นแต่สามาร
                                                    แสดงการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ได้อย่างสมบูณร์แบบ Power-On, Signal, Protec, Clip
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ AC..............9V หรือ 18V
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ DC..............12V หรือ 24V 
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines 
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย


การต่อลำโพงแบบต่างๆ

 การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียง        

เครื่อง ขยายเสียงจะมีจุดต่อสัญญาณออก อยู่ด้านหลังของเครื่องฯ อาจมีหลายลักษณะ แต่ลักษณะหนึ่งที่นิยม ใช้จะเป็นลักษณะที่มี จำนวน โอห์ม มาให้เลือกต่อ เพื่อความเหมาะสม ระหว่างตัวลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงอาจแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การต่อลำโพงตัวเดียว และการต่อลำโพงหลายตัว
              
               การต่อลำโพงตัวเดียว
                          การ ต่อลำโพงตัวเดียวเป็นการต่อตรง เช่น ลำโพงมีค่าความต้านทาน 8 โอห์ม ก็ให้ต่อสายเส้นหนึ่งของลำโพงเข้ากับ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 8 โอห์ม           

การต่อลำโพงหลายตัว
                          การต่อลำโพงหลายตัวกับเครื่องขยายเสียงอาจกระทำได้ 3 วิธี คือ
               การต่อแบบอนุกรม การต่อแบบขนาน และการต่อแบบผสม
               ซึ่งการต่อแต่ละแบบมีความจำเป็นต้องรู้จักคิดคำนวณค่า
               ความต้านทานกับพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงที่ออกมาจากเครื่องขยายเสียง
               ดังนี้

1. การต่อแบบอนุกรม เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่หากมีลำโพงตัวหนึ่ง ตัวใดชำรุดจะทำให้ลำโพง ทุกตัวเงียบหมด เนื่องจาก การตัดตัวเชื่อมต่อ ของวงอนุกรม นั่นเองสูตรในการคิดการต่อแบบอนุกรม คือ




หากมีลำโพง 3 ตัว คือ 8 , 8 , 16 จะคำนวณได้
                

การต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 32 โอห์ม


   
 2. การต่อแบบขนาน เป็นวิธีการต่อนิยมมาก เนื่องจากหากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งชำรุดตัวที่เหลือยังคงใช้งานได้ตามปกติ
              
               
               หากมีลำโพง 2 ตัว คือ 8 , 8 จะคำนวณได้            
               สูตรในการคิดการต่อแบบขนาน คือ
               

นำค่าของการต่อแบบอนุกรมมาคิดการต่อแบบขนานร่วมกับตัวที่เหลืออีกหนึ่งตัว


   การต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 4 โอห์ม
      
3. การต่อแบบผสม เป็น การใช้การต่อลำโพงแบบอนุกรมและแบบขนานร่วมกัน สำหรับสูตร ในการคิดคำนวณ ให้คิดค่า ของความต้านทาน ของการต่อลำโพงแบบอนุกรมก่อน แล้วจึงนำมาต่อลำโพงแบบขนาน เช่น มีลำโพง 3 ตัว สองตัวมีความต้านทานตัวละ 4 โอห์ม นำมาต่อแบบอนุกรม และ อีกตัวเป็น 8 โอห์ม นำมาต่อเข้ากับ สองตัวแรกแบบขนาน หาค่าความต้านทานว่า เป็นจำนวนทั้งสิ้นกี่โอห์ม            
               สูตรในการคิดการต่อแบบอนุกรม คือ
               
               หากมีลำโพง 2 ตัว คือ 4 , 4 จะคำนวณได้
               
            
               สูตรในการคิดการต่อแบบขนาน คือ
            
               


 นำค่าของการต่อแบบอนุกรมมาคิดการต่อแบบขนานร่วมกับตัวที่เหลืออีกหนึ่งตัว            
               

ดังนั้นหลังจากคิดคำนวณได้จะต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 4 โอห์ม นั่นเอง

    

การต่อลำโพงแบบต่างๆ