วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สูตรการทำตู้ลำโพงสูตรการทำตู้ลำโพง

สูตรการทำตู้ลำโพง
 

ส่วนประกอบของลำโพง

ส่วนประกอบของลำโพง 
 
1 ขอบยึด ทำหน้าที่ยึดติดระหว่างตู้ลำโพงกับโครงลำโพง
2 แค๊ปลำโพง ป้องกันเศษวัสดุเข้าไปในวอยค์คอยล์
3 ขอบกรวย มีหน้าที่ยึดกรวยกับโครงลำโพงและทำให้กรวยเคลื่อนที่ขึ้นลงได้
4 กรวย ทำหน้าที่รับพลังงานเสียงจากวอยส์คอยล์
5 สไปเดอร์ ทำหน้าที่ยึดกรวยและวอยส์คอยล์ให้อยู่ในศูนย์กลางของช่องแม่เหล็ก และสามารถยืดหยุ่นแบบเป็นสปริงให้กรวยเคลื่อนที่ได้ตามกำลังขับของวอยส์ คอยล์
6 โครง มีหน้าที่ยึดติดกับแผ่นหน้าของแม่เหล็ก โดยมีกรวยยึดติดด้านบน และสไปเดอร์ยึดติดด้านล่าง
7 วอยค์คอยล์ จะทำหน้าที่รับกระแสไฟจากแอมพลิฟลายสู่สนามแม่เหล็ก
8 แผ่นหน้า มีลักษณะเป็นวงแหวนตามขนาดที่กำหนด โดยด้านบนของแผ่นหน้ายึดติดกับโครง และด้านล่างติดกับแม่เหล็ก
ถาวร
9 แม่เหล็กถาวร มีลักษณะเป็น รูปวงแหวน มีหน้าที่ให้พลังงานแม่เหล็กถาวรไปยังแผ่นหลังและแผ่นหน้า และแผ่นหลังนำพลัง แม่เหล็กถาวรไปสู่แกนกลาง เพื่อสร้างพลังแม่เหล็กที่เข้มระหว่างแกนกลางและแผ่นหน้า
10 แผ่นหลัง มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมและมีแกนอยู่ตรงกลาง ทำหน้าที่รับพลังแม่เหล็กจากอีกด้านหนึ่งของ แม่เหล็กถาวรและแกนอยู่ตรงกลางของวงในแผ่นหน้า เพื่อเป็นช่องให้วอยส์คอยล์นำกระแสไฟจากแอมพลิฟลาย ผ่านสนาม แม่เหล็กที่กำหนดและเปลี่ยนเป็นพลังเสียง

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วงจรแยกเสียงลำโพง

วงจรแยกเสียงลำโพง

วงจรแยกเสียงลำโพงหรือครอสโอเวอร์ค ทำหน้าที่แยกเสียงลำโพงออกเป็นช่วงๆ ตามความถี่เสียงที่เหมาะสมต่อการทำงานของลำโพงแต่ละตัว ทำให้ลำโพงขับเสียงออกมามีความสมบูรณ์ ชัดเจน นุ่มนวล และความถี่ถูกต้อง โดยไม่เกิดเสียงหักล้างกันหรือเสียงเสริมกัน การกำหนดจุดตัดข้ามความถี่เสียงต้องคำนวณถึงการตอบวนองความถี่เสียงของลำโพง ควรพิจารณาที่ลำโพงเสียงทุ้มเป็นหลัก
วงจรแยกเสียงลำโพงเป็น 2 ทาง แยกเสียงส่งไปลำโพง 2 ช่วงความถี่ คือ ความถี่ต่ำเสียงทุ้ม และความถี่สูงเสียงแหลม แยกวงจรแยกเสียงลำโพงออกไดเป็นออร์เดอร์มี 4 ออร์เดอร์ ออร์เดอร์ที่นิยมใช้งานเป็นแบบออร์เดอร์ที่ 2 ความลาดเส้นกราฟที่จุดตัดข้าม 12 dB/ออกเตฟ ใช้ค่า L, C จัดวงจรอย่างละ 2 ตัว การเลือกค่า L, C มาใช้งานต้องเลือกค่าที่เหมาะสม เพื่อให้วงจรทำงานได้สมบูรณ์
วงจรแยกเสียงลำโพง 3 ทาง แยกเสียงส่งไปลำโพง 3 ช่วง ความถี่ คือความถี่ต่ำเสียงทุ้ม ความถี่กลางเสียงกลาง และความถี่สูงเสียงแหลม ความถี่ที่ใช้ในจุดตัดข้ามความถี่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำโพงเสียงทุ้มการต่อลำโพงเข้ากับวงจรเสียงลำโพง ต้องคำนึงถึงขั้วบวก-ลบ ทั้งของวงจรแยกเสียงและของลำโพง ต้องต่อให้ถูกต้องตรงกัน เพื่อให้การทำงานของลำโพงทุกตัวมีเฟสการทำงานเหมือนกัน
การต่อใช้งานลำโพงหลายตัวมีประโยชน์ในการใช้งานหลายประการ คือ ช่วยให้เกิดทิศทางการแพร่กระจายคลื่นเสียงครอบคลุมในบริเวณที่ต้องการ ช่วยเพิ่มความดังของเสียงที่ขับออกมาจากลำโพงแต่ละตัว สามารถเฉลี่ยภาวการณ์ทำงานให้ลำโพงทุกตัวได้ และช่วยปรับค่าอิมพีแดนซ์ลำโพงให้เหมาะสมกับเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงหลายตัวทำได้ 3 แบบ คือต่ออนุกรมช่วยเพิ่มอิมพีแดนซ์ลำโพงให้สูงขึ้น ต่อขนานช่วยลดอิมพีแดนซ์ลำโพงให้ต่ำลง และต่อผสมช่วยเพิ่มจำนวนการต่อลำโพงได้มากขึ้น
การต่อลำโพงระยะไกลต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญดังนี้ ลำโพงมีอิมพีแดนซ์ต่ำต่อสายได้สั้น ลำโพงมีอิมพีแดนซ์ยิ่งสูงขึ้น สามารถต่อสายได้ยากขึ้น ใช้สายเส้นเล็กความต้านทานของสายสูงต่อสายได้สั้น ใช้สายเส้นใหญ่ใช้ความต้านทานของสายต่ำลงต่อสายยาวมากขึ้น สิ่งที่ต้องเพิ่มในการต่อลำโพงระยะไกลคือไลน์แมตชิ่งทรานส์ฟอร์มเมอร์ แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดอิมพีแดนซ์คงที่ และชนิดแรงดันคงที่

วงจรป้องกันลำโพง หน่วงเวลา

                                                       วงจรป้องกันลำโพง หน่วงเวลา
SPECIFICATIONS
Speaker Protections..............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo  
ขนาดรีเลย์.............................ขนาด 20A จำนวน 2ตัวเพียงพอต่อแอมป์ขนาด1000+1000W
ใช้ไฟเลียงวงจร........................ AC หรือ DC 12Vถึง24V
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines  
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย
SPECIFICATIONS
Speaker Protections.............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo  
ขนาดรีเลย์..............................ใช้รีเลย์ขนาด 30A จำนวน 2ตัวเพียงพอต่อเพาเวอร์แอมป์กำลังวัตต์ขนาด1500+1500W
วงจรพิเศษ..............................ใช้คู่กับบอร์ด LED Display รุ่น LED V1.0 เชื่อมต่อโดยสายแพร์เพียง 5 เส้นแต่สามาร
                                                     แสดงการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ได้อย่างสมบูณร์แบบ Power-On, Signal, Protec, Clip
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ AC..............9V หรือ 18V
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ DC..............12V หรือ 24V
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines  
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย




SPECIFICATIONS
Speaker Protections..............ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo 
ขนาดรีเลย์...............................ใช้รีเลย์ขนาด 20A จำนวน4ตัวขนานกันทำให้เพียงพอต่อเพาเวอร์แอมป์ขนาด2000+2000W
วงจรพิเศษ..............................ชุดป้องกันลำโพงแบบ Stereo ระบบ Dual หรือ แยกกันทำงาน  ซ้าย-ขวา อิสระ
                                                    ใช้คู่กับบอร์ด LED Display รุ่น LED V2.0 เชื่อมต่อโดยสายแพร์เพียง 6 เส้นแต่สามาร
                                                    แสดงการทำงานของเพาเวอร์แอมป์ได้อย่างสมบูณร์แบบ Power-On, Signal, Protec, Clip
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ AC..............9V หรือ 18V
ใช้ไฟเลี้ยงวงจรแบบ DC..............12V หรือ 24V 
วงจรTime Delay.....................หน่วงเวลาเปิด  5 Mines 
วงจรตรวจสอบ.........................ตัดการทำงานเมื่อมีไฟ DC รั่วออกลำโพงเพื่อป้องกันไม่ให้ลำโพงเสียหาย


การต่อลำโพงแบบต่างๆ

 การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียง        

เครื่อง ขยายเสียงจะมีจุดต่อสัญญาณออก อยู่ด้านหลังของเครื่องฯ อาจมีหลายลักษณะ แต่ลักษณะหนึ่งที่นิยม ใช้จะเป็นลักษณะที่มี จำนวน โอห์ม มาให้เลือกต่อ เพื่อความเหมาะสม ระหว่างตัวลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงอาจแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การต่อลำโพงตัวเดียว และการต่อลำโพงหลายตัว
              
               การต่อลำโพงตัวเดียว
                          การ ต่อลำโพงตัวเดียวเป็นการต่อตรง เช่น ลำโพงมีค่าความต้านทาน 8 โอห์ม ก็ให้ต่อสายเส้นหนึ่งของลำโพงเข้ากับ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 8 โอห์ม           

การต่อลำโพงหลายตัว
                          การต่อลำโพงหลายตัวกับเครื่องขยายเสียงอาจกระทำได้ 3 วิธี คือ
               การต่อแบบอนุกรม การต่อแบบขนาน และการต่อแบบผสม
               ซึ่งการต่อแต่ละแบบมีความจำเป็นต้องรู้จักคิดคำนวณค่า
               ความต้านทานกับพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงที่ออกมาจากเครื่องขยายเสียง
               ดังนี้

1. การต่อแบบอนุกรม เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่หากมีลำโพงตัวหนึ่ง ตัวใดชำรุดจะทำให้ลำโพง ทุกตัวเงียบหมด เนื่องจาก การตัดตัวเชื่อมต่อ ของวงอนุกรม นั่นเองสูตรในการคิดการต่อแบบอนุกรม คือ




หากมีลำโพง 3 ตัว คือ 8 , 8 , 16 จะคำนวณได้
                

การต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 32 โอห์ม


   
 2. การต่อแบบขนาน เป็นวิธีการต่อนิยมมาก เนื่องจากหากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งชำรุดตัวที่เหลือยังคงใช้งานได้ตามปกติ
              
               
               หากมีลำโพง 2 ตัว คือ 8 , 8 จะคำนวณได้            
               สูตรในการคิดการต่อแบบขนาน คือ
               

นำค่าของการต่อแบบอนุกรมมาคิดการต่อแบบขนานร่วมกับตัวที่เหลืออีกหนึ่งตัว


   การต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 4 โอห์ม
      
3. การต่อแบบผสม เป็น การใช้การต่อลำโพงแบบอนุกรมและแบบขนานร่วมกัน สำหรับสูตร ในการคิดคำนวณ ให้คิดค่า ของความต้านทาน ของการต่อลำโพงแบบอนุกรมก่อน แล้วจึงนำมาต่อลำโพงแบบขนาน เช่น มีลำโพง 3 ตัว สองตัวมีความต้านทานตัวละ 4 โอห์ม นำมาต่อแบบอนุกรม และ อีกตัวเป็น 8 โอห์ม นำมาต่อเข้ากับ สองตัวแรกแบบขนาน หาค่าความต้านทานว่า เป็นจำนวนทั้งสิ้นกี่โอห์ม            
               สูตรในการคิดการต่อแบบอนุกรม คือ
               
               หากมีลำโพง 2 ตัว คือ 4 , 4 จะคำนวณได้
               
            
               สูตรในการคิดการต่อแบบขนาน คือ
            
               


 นำค่าของการต่อแบบอนุกรมมาคิดการต่อแบบขนานร่วมกับตัวที่เหลืออีกหนึ่งตัว            
               

ดังนั้นหลังจากคิดคำนวณได้จะต่อโดยการนำเส้นหนึ่งของลำโพง ต่อที่ 0 โอห์ม อีกเส้นต่อที่ 4 โอห์ม นั่นเอง

    

การต่อลำโพงแบบต่างๆ

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงสร้างของลำโพง

 ส่าวประกอบของลำโพง


     ลำโพงที่เห็นอยู่ในท้องตลาดนั้น โดยส่วนใหญ่ลำโพงจะอยู่ในรูปของตู้ลำโพงที่อาจจะทำจากไม้หรือพลาสติกที่มีความทนทาน ซึ่งลำโพงที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่จะมีตู้ลำโพงที่ทำขึ้นจากพลาสติก โดยภายในจะประกอบด้วย Driver หรือตัวดอกลำโพงซึ่งจะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้กำเนิดเสียง ซึ่งได้แก่ Amplifier และ Crossover Network ซึ่งอุปกรณ์ภายในเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดขนาดหรือรูปแบบเสียงของลำโพงที่ออกมา จำนวนดอกลำโพงที่ใช้ก็จะมีผลต่อความเป็นธรรมชาติของเสียงที่ออกมา ถ้ามีดอกลำโพงหลายตัวก็จะทำให้เสียงที่ได้ครอบคลุมย่านความถี่ของเสียงได้มากกว่า ให้รายละเอียดของทุกชิ้นเครื่องดนตรีได้ดีกว่า ลำโพงแบบ 2 ทาง จะประกอบด้วยลำโพง ของวูเฟอร์ และทวีตเตอร์ ในย่านความถี่เสียงกลางและเสียงต่ำจะถูกขับออกทางวูเฟอร์ ส่วนความถี่เสียงสูงก็จะถูกขับออกทางทวีตเตอร์ สำหรับลำโพงแบบ 3 ทาง ก็จะประกอบด้วย ซับวูเฟอร์, วูเฟอร์ และทวีตเตอร์ เสียงต่ำสุดก็จะถูกขับออกทางซับวูเฟอร์ เสียงกลางจะถูกขับออกทางวูเฟอร์ และเสียงแหลมก็จะถูกขับออกทางทวีตเตอร์

ลำโพงแบบหลายทางจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Crossover Network เป็นตัวแบ่งสัญญาณเสียงในแต่ละย่านออกจากกันและจ่ายไปให้ลำโพงที่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะเป็นสองทางหรือสามทางแล้วแต่ว่าเป็นลำโพงแบบไหน นอกจากนี้ Crossover Network ยังทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของเสียงในแต่ละย่านความถี่ พร้อมทั้งมีระบบการป้องกันการทำงานที่เกินกำลังของลำโพงและการป้องกันระดับความถี่ของเสียงที่สูงเกินกว่าลำโพงจะรับได้

ลำโพง Tweeter ทวีตเตอร์เป็นลำโพงที่ใช้สำหรับขับเสียงความถี่สูง โดยทั่วไปจะมีความถี่เกินจาก 1.5 KHz ขึ้นไป
ลำโพง Woofer ลำโพงวูเฟอร์จะใช้สำหรับขับเสียงความถี่ต่ำ คือในระดับความถี่ไม่เกิน 1.5 KHz เนื่องจากความถี่ต่ำมีความยาวของคลื่นค่อนข้างมาก ลำโพงวูเฟอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถขับอากาศได้เพียงพอสำหรับสร้างเสียงความถี่ต่ำ ยิ่งวูเฟอร์มีขนาดใหญ่เท่าใด กำลังในการขับและความดังของเสียงเบสก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น วูเฟอร์จะใช้ในการขับเสียงกลางและเสียงต่ำ
ลำโพง Sub Woofer ซับวูเฟอร์เป็นลำโพงที่ใช้ขับเสียงความถี่ต่ำที่สุด คือในระดับความถี่ถึง 500 Hz ยิ่งขนาดของลำโพงซับวูเฟอร์มีขนาดใหญ่มากเท่าใด พลังในการขับก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ในระบบลำโพงที่มีซับวูเฟอร์จะให้เสียงในระดับความถี่ต่ำได้ดีเป็นพิเศษ

ลำโพงแบบต่างๆ
Mono (1 channel )


คำว่า MONO นี้มีความหมายว่าอะไร หลายคนคงจะเคยเห็น วิทยุที่มีลำโพงเดียว หรือ gramophone เช่น วิทยุสมัยก่อนครับ หลักการของ Mono คือส่งสัญญานเสียงออกมาที่ลำโพงตัวหลัง และตัวเดียว โดยที่ Mono นี้ไม่มี มโนภาพของเสียง อีกความหมายหนึ่งคือ เราไม่สามารถบอกได้ว่า เสียงนี้มาจากตำแหน่งไหน และมาจากที่ใด Mono นั้นจะไม่เหมือนกับพวก stereo และ multi-speaker อื่นๆ หากเราเอาลำโพง Mono ไปเล่นกับเครื่องเสียงที่เป็น stereo เสียงที่ออกมาก็ยังเป็น Mono อยู่ดี แต่เสียงจะออกมาจากลำโพง 2 ลำโพง แต่เสียงที่เราได้รับทั้ง 2 ลำโพงจะเป็นเสียงๆเดียวกัน เหมือนกันทั้ง 2 ลำโพง เหมือนว่าเสียงนั้นมาจากที่เดียวกัน

Stereo (2 channel )


เสียงแบบ Stereo นี้จะมีความแตกต่างจาก Mono มากพอสมควรทีเดียว โดยในการจัดวางลำโพงนั้นจะต้องจัดวางลำโพงทั้ง 2 ตัว โดยที่ตัวหนึ่งอยู่ทางซ้าย และอีกตัวหนึ่งอยู่ทางขวาของผู้ฟัง โดยเสียงแบบ Stereo นี้เราจะสามารถบอกสถานที่ของตำแหน่งของเสียงได้ ซึ่งต่างจากลำโพงแบบ Mono เช่น เมื่อเราเปิดเพลง เพลงที่เราได้ยินกันนี้ อาจจะได้ยินเสียงของกลอง อาจจะอยู่ตรงกลาง เสียงกีต้าร์อยู่ด้านขวาของลำโพง เสียงเปียโนอยู่ทางด้านซ้ายของลำโพง และเสียงนักร้องจะ อยู่ตรงกลาง ทำให้เสียงที่ได้นั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นลำโพงที่ดีกว่าลำโพงแบบแรก

Speaker 2.1 channel


ลำโพงแบบ 2.1 แชนแนลนี้เป็นลำโพงที่ได้มีการพัฒนามาจากลำโพงแบบ 2 แชนแนล คือจะมีการเพิ่มลำโพงซับวูเฟอร์เข้ามาอีกตัว ซึ่งสามารถเพิ่มพลังเสียงเบสขึ้นมา ทำให้มีเสียงที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันลำโพงแบบนี้เป็นลำโพงที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเป็นลำโพงที่มีราคาไม่แพงมากนัก และสามารถให้เสียงที่ดี สามารถติดตั้งได้ง่าย

Point Surround ( 4.1 channel)


โดยลำโพงแบบนี้จะประกอบไปด้วยลำโพงมากถึง 4 ตัว และ subwoofer อีก 1 ตัว เรียกอีกอย่างว่าเป็นลำโพงแบบ 4.1 ซึ่งลำโพงแบบนี้ต้องใช้คู่กับซาวนด์การ์ดที่เป็นแบบ 4.1 ด้วย ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ โดยลำโพง 4 ตัวนี้จะจัดอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันคือ หน้าซ้าย,หน้าขวา,หลังซ้าย,หลังขวา และ subwoofer โดยที่ลำโพง Subwoofer นี้จะไม่นับเป็นลำโพงที่ 5 เพราะเป็นลำโพงที่มีความถี่ต่ำ เขาจึงนับแค่ .1 โดย แต่ล่ะ ลำโพงของ 4 Point Surround จะออกเสียงที่แต่ต่างกัน โดยแต่ล่ะตัวมีหน้าที่แตกต่างกันและมีสัญญาณเป็น ของตัวเอง ยกเว้น Subwoofer ที่ต้องอาศัยความถี่ของ ลำโพงทั้ง 4 ตัว ในการออก

Destop Theater 5.1 (6 channel)


โดยลำโพงแบบ 5.1 นี้จะใหญ่กว่าลำโพงแบบ 4.1 ขึ้นมาอีกหน่อย ที่แตกต่างก็คือ จะเพื่มช่องสัญญาณ ขึ้นมาอีก 2 Channel ให้กับลำโพงตัวกลางที่เพื่มเข้ามาและ subwoofer โดยแบบ 5.1 นี้ Subwoofer จะมีช่อง Channel เป็นของตัวเองแล้ว แต่ก็ยังนับเป็น x.1 อยู่ดีเพราะความถี่ของ Subwoofer นั้นมีความถี่ต่ำเกินกว่าที่จะนับเป็บ 1.0 โดยลำโพงแบบนี้จะ support Dolby Digital และ DTS (Digital Theater Systems) Surround systems โดยเราจะพบเห็นได้ในโรงหนังทั่วไป แต่หากระบบนี้มาอยู่ที่จอทีวีบ้านคุณหรือหน้าคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า Destop Theater 5.1 นั้นเองครับ

Speaker 6.1 channel


โดยลำโพงแบบ 6.1 นี้ ก็จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าลำโพงแบบ 5.1 ที่บอกมาข้างต้น มีช่องสัญญาณที่เพิ่มเข้ามาอีก ลำโพงแต่ละตัวจะมีการจัดวางที่แตกต่างกัน แล้วการให้เสียงก็มีความแตกต่างกันด้วย ลำโพงแบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในตอนนี้ สามารถให้เสียงที่ไพเราะ มีคุณภาพเสียงที่ดี ทำให้บ้านของท่านกลายเป็นสถานบันเทิงย่อมๆได้เลย ลำโพงแบบ 6.1 ที่มีขณะนี้ก็มีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น อย่างเช่นของ Creative คือ Creative Inspire 6600

Destop Theater 7.1 (8 channel)


ลำโพงแบบนี้เป็นลำโพงที่หรูที่สุดในบรรดาลำโพงที่บอกมาข้างต้นและกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้ แต่ยังมีให้เห็นไม่มากนัก มีความแตกต่างจาก 5.1 ก็คือจะเพิ่มลำโพงตรง กลางซ้าย, กลางขวา มาอีก 2 ตัว โดยโหมดนี้ ต้องใช้ควบคู่ไปกับซาวนด์การ์ดที่เป็นแบบ 7.1ซึ่งซาวนด์การ์ดแบบ 7.1 แชนแนลนี้ในท้องตลาดของเราเริ่มจะมีให้เห็นกันมากขึ้นแล้ว เช่น ซาวนด์การ์ดในตระกูล Creative SB Audigy 2 ZS หรือ Creative SB Audigy 2 NX ระบบลำโพงดังกล่าวที่บอกนั้นจะมีให้เห็นแต่ ในโรงหนังหรูๆ และ Home Theater ราคาแพงครับ โดยหวังว่า Creative เจ้าพ่อวงการซาวนด์การ์ดจะทำการผลิตซาวนด์การ์ดแบบ 7.1 ออกมาเร็วๆนี้